รูปแบบของแรงดึงดูดและความสัมพันธ์
VOCABULARY IN THE AROMANTIC COMMUNITY RELATING TO ATTRACTION AND RELATIONSHIPS
This glossary is a continuously updating record of terms that have been and are being used in the aromantic community by at least one person. As a record, this glossary is meant to document the various concepts that are thought up when the language is not sufficient to describe people’s experiences and doesn’t encourage or discourage the use of any term.
Please keep in mind these are shortened definitions and identities can be nuanced. This glossary was last updated in Oct 2021.
*Terms that are not commonly used by the community or are newly emerging are marked with an asterisk (*)
Romantic attraction (แรงดึงดูดแบบโรแมนติก)
คือ ความสนใจหรือความปรารถนาในการติดต่อหรือมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหนึ่งเป็นพิเศษในเชิงโรแมนติก แรงดึงดูดในลักษณะนี้มักเป็นความรู้สึกอันแรงกล้า ส่วนใหญ่เป็นความหลงใหลหรือการหวังผลที่จะสานสัมพันธ์กับบุคคลนั้น ๆ ในแบบโรแมนติก
นอกจากนี้ อีกหนึ่งคำที่เกี่ยวข้องคือ Crush หรือความรู้สึกดึงดูดแบบโรแมนติกที่เข้มข้นกับบุคคลหนึ่ง ส่วนใหญ่มักใช้อธิบายถึงคนที่ชอบ
Sexual attraction (แรงดึงดูดทางเพศ)
คือ ความสนใจหรือความปรารถนาในการมีปฏิสัมพันธ์ทางเพศหรือการสัมผัสทางเพศกับบุคคลหนึ่งเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ คำว่า Smush ยังใช้แทนความรู้สึกดึงดูดทางเพศที่เข้มข้นกับบุคคลหนึ่ง โดยเป็นคำที่ให้ความหมายขนานไปกับ Crush
Tertiary attraction (แรงดึงดูดที่สาม)
เป็นศัพท์ที่ให้ความหมายโดยกว้างสำหรับประเภทของแรงดึงดูดที่ไม่ได้จัดอยู่ในหมวดหมู่ของแรงดึงดูดแบบโรแมนติกหรือแรงดึงดูดทางเพศ
Aesthetic attraction (แรงดึงดูดทางสุนทรียภาพ)
คือ ความสนใจต่อรูปร่างหน้าตา หรือความปลาบปลื้มอย่างแรงกล้าต่อความงามของบุคคลหนึ่งเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ คำว่า Swish ยังใช้แทนความรู้สึกดึงดูดที่เข้มข้นต่อลักษณะภายนอกของบุคคลหนึ่ง โดยเป็นคำที่ให้ความหมายขนานไปกับ Crush
Alterous attraction (แรงดึงดูดทางอารมณ์)
คือ ความสนใจหรือความปรารถนาในความใกล้ชิดทางอารมณ์กับบุคคลหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องเป็นไปในเชิงเพลโตนิก และ/หรือ เชิงโรแมนติก โดยคำว่า Alterous มักใช้แทน -romantic หรือ -sexual ในตำแหน่งของคำเสริมท้าย ตัวอย่างเช่น bialterous แทนคำว่า biromantic นอกจากนี้ยังหมายถึง
แรงดึงดูดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแรงดึงดูดรูปแบบอื่น ๆ เช่น แรงดึงดูดแบบโรแมนติก
แรงดึงดูดสำคัญที่ไม่เกี่ยวข้องกับแรงดึงดูดอื่น ๆ รูปแบบไหนเลย
ประสมคำโดย Schizotypal-scully (original, archived)
Mesh - the alterous equivalent of a crush. A mesh is an intense feeling of alterous attraction to a person.
Exteramo attraction (แรงดึงดูดทางอารมณ์แบบเอกซ์เตราโม)
คือ ความสนใจหรือความปรารถนาอย่างมีนัยยะสำคัญต่อความใกล้ชิดทางอารมณ์กับบุคคลหนึ่งเป็นพิเศษ โดยไม่เกี่ยวข้องกับแรงดึงดูดแบบเพลโตนิก และ/หรือ แบบโรแมนติกแต่อย่างใด กล่าวได้ว่า แรงดึงดูดทางอารมณ์แบบเอกซ์เตราโมจึงเป็นเซตย่อยของแรงดึงดูดทางอารมณ์ทั่วไป (alterous)
Platonic attraction
คือ ความสนใจในมิตรภาพ หรือความปรารถนาต่อความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับบุคคลหนึ่งเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่แล้ว ความสัมพันธ์เพลโตนิกไม่ได้เป็นไปในเชิงโรแมนติกหรือเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ แต่ลักษณะของความสัมพันธ์ย่อมขึ้นอยู่กับบุคคลที่มีส่วนร่วมในความสัมพันธ์นั้น ๆ
นอกจากนี้ คำว่า Squish ยังใช้แทน
ความรู้สึกดึงดูดแบบเพลโตนิกที่เข้มข้น มักเป็นที่เข้าใจผิดกับความอยากที่จะเป็นเพื่อนกับใครสักคน โดยเป็นคำที่ให้ความหมายขนานไปกับ Crush แต่เป็นแบบเพลโตนิก
คำที่ให้ความหมายโดยกว้างขนานไปกับ Crush แต่สำหรับแรงดึงดูดรูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แรงดึงดูดแบบโรแมนติกและแรงดึงดูดทางเพศ
ประสมคำโดย Raisin (A-gent Raisin) (original, archived)
Sensual attraction (แรงดึงดูดด้วยสัมผัส)
คือ ความสนใจในการสัมผัส หรือความปรารถนาในความใกล้ชิดทางร่างกายกับบุคคลหนึ่ง โดยไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ เช่น การกอดสั้น ๆ หรือการสวมกอดอย่างแนบชิด
นอกจากนี้ คำว่า Lush ยังใช้แทนความรู้สึกดึงดูดในการอยากสัมผัสบุคคลหนึ่ง โดยเป็นคำที่ให้ความหมายขนานไปกับ Crush
Amorous / partnering*
Describes an aromantic person who wishes to form a significant partnership with others. The opposite of nonamorous (not everyone finds this category of description relevant).
Aplatonic (เอเพลโตนิก)
Aplatonic spectrum (เอเพลโตนิก สเปกตรัม หรือ ความหลากหลายทางเอเพลโตนิก) หรือ Aplspec (แอปเปิ้ลสเปก)
เป็นคำที่ให้ความหมายโดยกว้างสำหรับบุคคลที่มีแรงดึงดูดแบบเพลโตนิกน้อยมาก หรือไม่มีเลย ย่อว่า Aplspec (อ่านว่า แอปเปิ้ลสเปก)
Aplspec ยังใช้แทนอัตลักษณ์เฉพาะตัวของบุคคลที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับแรงดึงดูดแบบเพลโตนิกที่มีเงื่อนไข หรือไม่สอดคล้องกับแรงดึงดูดแบบเพลโตนิกทั่วไป แต่ไม่ต้องการจะนิยามตนเองไปมากกว่านี้ โดยคำว่า Platonic มักใช้แทน -romantic หรือ -sexual ในตำแหน่งของคำเสริมท้าย ตัวอย่างเช่น demiplatonic แทนคำว่า demiromantic
Appromour*
Describes a relationship or partner that is not romantic. It may not quite fit the definition of a queerplatonic relationship or queerplatonic partner either. Appromour is a way to describe a relationship that may seem like a romantic relationship to oneself or outside observers but is decidedly still not romantic.
Chosen family/Found family (ครอบครัวที่เลือกเอง/ครอบครัวที่หาเจอ)
คือ กลุ่มของบุคคลที่ตกลงใจเลือกกันและกันให้มีบทบาทสำคัญในชีวิตของอีกฝ่าย โดยพิจารณาจากความสนิทใจทางอารมณ์ และนับกันและกันเป็นครอบครัว แม้ว่าแต่ละฝ่ายไม่ได้มีความข้องเกี่ยวทางสายเลือดหรือมีความสัมพันธ์ตามกฎหมาย
Ethical non-monogamy (การมีคนรักหลายคนอย่างมีจริยธรรม)
คือ คำที่ให้ความหมายโดยกว้างสำหรับความสัมพันธ์หรือความปรารถนาในการมีความสัมพันธ์กับคนรักมากกว่าหนึ่งคนพร้อมกัน โดยทุกคนในความสัมพันธ์ยินยอมที่จะดำเนินความสัมพันธ์ไปในลักษณะนี้ และสื่อสารเกี่ยวกับข้อตกลงของทุกฝ่ายบนจุดยืนที่มีความเสมอภาคกัน
ความสัมพันธ์รักหลายคนอย่างมีจริยธรรมมีหลายประเภท รวมทั้งความสัมพันธ์แบบเปิด (open relationship) สวิงกิ้ง (swinging) พหุรัก (polyamory) และความสัมพันธ์แบบอนาธิปไตย (relationship anarchy)
Foveo*
Describes a partner in a relationship is not inherently romantic nor platonic, but features physical and/or sexual attraction and intimacy. Created as an alternative to “friends with benefits”.
Coined by: Lollie (original)
Nonamorous (ไม่ปรารถนารัก) หรือ Nonpartnering (ไม่ปรารถนาข้อผูกมัดทางความสัมพันธ์)
Paramour*
Describes a friend that one has a significant sexual relationship with.
Coined by: Alexei (archived)
Peach fuzz*
When Queerplatonic Partners pretend to be in a romantic relationship to stave off questions from friends and family asking why they’re not dating anyone.
Polyaffectionate (พหุรักไม่โรแมนติกและไม่ฝักใฝ่ทางเพศ)
Describes a person who practices or desires non-romantic and/or non-sexual affectionate relationships where individuals have more than one partner, with the knowledge and consent of all partners. A type of polyamory that is explicitly non-romantic and/or non-sexual.
หมายถึง บุคคลที่ปรารถนาหรือมีความสัมพันธ์อันเกี่ยวกับความรักที่ไม่โรแมนติก และ/หรือ ความรักที่ไม่เป็นไปในทางเพศ โดยมีคนรักในความสัมพันธ์มากกว่าหนึ่งคน ซึ่งทุกคนมีความเข้าใจและให้ความยินยอมในการดำเนินความสัมพันธ์ไปในลักษณะนี้ Polyaffectionate เป็นหนึ่งในประเภทของความสัมพันธ์แบบพหุรักที่ไม่เป็นไปในทางโรแมนติกและทางเพศอย่างชัดเจน
Polyamory (พหุรัก)
Queerplatonic/quasiplatonic Relationship/QPR (ความสัมพันธ์แบบเควียร์เพลโตนิก)
คือ ความสัมพันธ์แบบผูกมัดที่ไม่ใช่รักโรแมนติก มีความแตกต่างจากความสัมพันธ์ฉันเพื่อนที่เป็นไปตามค่านิยมในกระแสหลัก ส่วนใหญ่แล้ว ระดับความใกล้ชิด การวางตัว หรือพฤติกรรมระหว่างผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์มักไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานทางสังคม บางครั้งความสัมพันธ์แบบเควียร์เพลโตนิกอาจรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ หรือการแสดงออกในเชิงโรแมนติก ดังนั้นทุกความสัมพันธ์แบบเควียร์เพลโตนิกจึงแตกต่างกันในทางปฏิบัติ (ย่อว่า QPR ในภาษาอังกฤษ และ QPP จาก queerplatonic (quasiplatonic) partner สำหรับผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์แบบเควียร์เพลโตนิก โดย QPP ยังมีชื่อเล่นว่า Zucchini หรือ ซูกินี อีกด้วย)
ประสมคำโดย Meloukhia and Kaz (original, archived)
แหล่งที่มา [EN] (original, archived)
ธงไพรด์แบบต่าง ๆ (original, archived)
นอกจากนี้ คำว่า Plush หรือ Squash ยังใช้แทนความปรารถนาที่จะมีความสัมพันธ์แบบเควียร์เพลโตนิกกับบุคคลหนึ่งเป็นพิเศษ โดยเป็นคำที่ให้ความหมายขนานไปกับ Crush
Semi-SAM*
A type of application of the Split Attraction Model (SAM). The semi-SAM is fluctuation in how one can classify their identity. For example, sometimes identifying under a SAM model feels appropriate, while at other times it does not. It can also be used if one feels a particular identity takes priority, but does not wish to disregard any other identities.
Coined by: Black-aros (archived)
Soft romo (มีความโรแมนติกอย่างเจือจาง)
An adjective to describe something that is low-level romantic. A soft romo relationship is defined by the coiner as somewhere in between a queerplatonic and a romantic relationship.
เป็นคำคุณศัพท์หรือคำขยายคำนาม ที่อธิบายถึงสิ่งที่มีความโรแมนติกเพียงเล็กน้อย เช่น ความสัมพันธ์ที่มีรักโรแมนติกเพียงน้อยนิด โดยผู้ที่เสนอคำนี้นิยามว่า เป็นความสัมพันธ์ที่อยู่ระหว่างความสัมพันธ์แบบเควียร์เพลโตนิกกับความสัมพันธ์แบบรักโรแมนติก
Romance repulsed/averse/indifferent/favorable (ผลักไส/ไม่ชอบ/เฉยชา/ปรารถนา รักโรแมนติก)
เป็นระดับความสบายใจของบุคคลต่อการปฏิบัติที่ถูกมองว่ามีความโรแมนติกกับตัวเอง รวมไปถึงการรับรู้การนำเสนอความรักโรแมนติกของบุคคลอื่นหรือผ่านสื่อ โดยระดับของความสบายใจอาจเปลี่ยนแปลงได้ หรือเป็นไปอย่างมีเงื่อนไข
Romance repulsed/averse (ผลักไสหรือไม่ชอบความรักโรแมนติก) อธิบายถึง บุคคลที่อึดอัดกับความโรแมนติกที่พบเจอกับตนเอง หรือการนำเสนอของคนอื่น ตั้งแต่เพียงเล็กน้อยไปจนถึงอย่างรุนแรง
Romance indifference (ไม่ฝักใจในความรักโรแมนติก) อธิบายถึง บุคคลที่ไม่แม้แต่อึดอัดหรือกระตือรือร้นต่อความรักโรแมนติกที่พบเจอกับตนเอง หรือการนำเสนอของคนอื่น
Romance favorable (ชื่นชอบความรักโรแมนติก) อธิบายถึง บุคคลที่สบายใจหรือชื่นชอบความรักโรแมนติกที่พบเจอกับตนเอง หรือการนำเสนอของคนอื่น
Relationship anarchy/RA (ความสัมพันธ์แบบอนาธิปไตย)
The belief that no kinds of intimate relationships are superior to others, despite some being more highly valued in society. It is usually non-monogamous and is based on the premise that a relationship doesn’t have to conform to socially-prescribed norms. Community interdependence is another important facet of RA (“community not couples”). Opposed to amatonormativity and not specific to aromantics.
คือความเชื่อที่ว่า ไม่มีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งรูปแบบไหนอยู่เหนือความสัมพันธ์รูปแบบอื่น ๆ ถึงแม้ว่าสังคมจะให้คุณค่ากับความสัมพันธ์บางประเภทมากกว่า ส่วนใหญ่แล้ว ความสัมพันธ์แบบอนาธิปไตยเกี่ยวข้องกับการมีคนรักหลายคนในเวลาเดียวกัน และตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ไม่จำเป็นต้องคล้อยตามบรรทัดฐานที่สังคมกำหนด นอกจากนี้ Community interdependence (การพึ่งพาอาศัยระหว่างกลุ่มชุมชน) ยังเป็นอีกหนึ่งมุมมองสำคัญของความสัมพันธ์แบบอนาธิปไตย ซึ่งให้คุณค่ากับกลุ่มชุมชนมากกว่าความสัมพันธ์แบบเป็นคู่ อันทัดทานบรรทัดฐานรักสมรส (amatonormativity) และไม่จำกัดเพียงแค่ผู้ที่มีอัตลักษณ์เอโรแมนติก
ประสมคำโดย Andie Nordgren (original, archived)
Singlism (อคติต่อผู้เป็นโสด)
คือ การติเตียน ตราหน้า หรือการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลที่เป็นโสด
ประสมคำโดย Bella DePaulo
Touch averse (ไม่ชอบใจการสัมผัส)
หมายถึง บุคคลที่ไม่สบายใจกับการแตะเนื้อต้องตัว ตั้งแต่เพียงเล็กน้อยไปจนถึงอย่างรุนแรง โดยระดับของความไม่สบายใจอาจเปลี่ยนแปลงได้ หรือเป็นไปอย่างมีเงื่อนไข
Varioriented/Mixed orientation identity (เพศวิถีแบบผสมผสาน)
คือ การจับกลุ่มการนิยามแรงดึงดูดทางเพศและแรงดึงดูดทางใจแบบโรแมนติกในลักษณะใดก็ตาม ที่ไม่มีความเข้าคู่กันหรือไม่มีความชอบในเพศสภาพแบบเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เอโรแมนติก แพนเซ็กชวล (ไม่มีแรงดึงดูดทางใจหรือมีน้อย แต่มีแรงดึงดูดทางเพศอย่างไม่จำกัดเพศ) ไบโรแมนติก เฮเทอโรเซ็กชวล (รักได้มากกว่าหนึ่งเพศ แต่ดึงดูดทางเพศกับแค่เพศต่าง) โฮโมโรแมนติก เอเซ็กชวล (ดึงดูดทางใจกับผู้ที่มีเพศเหมือนกัน แต่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศหรือมีน้อย) เป็นต้น ซึ่งเป็นรสนิยมทางใจและทางเพศที่มีความผสมผสาน นอกจากนี้ คำที่มีความหมายคล้ายกันคือ Cross-orientation sexuality (เพศวิถีแบบไขว้)
Venusplatonic*
Describes a person who does not want romance or a romantic relationship, but considers strong platonic love and relationships very important, including exclusive ones like QPRs. Also describes a person who experiences some sort of tetritary attraction.
Coined by: reggiestein.v (original)
Flag (original)
Voidpunk (วอยด์พังก์)
คือ การเคลื่อนไหวทางสังคมที่ปฏิเสธอัตลักษณ์ความเป็นมนุษย์ของตนเอง เพื่อตอบโต้ต่อการลดทอนความเป็นมนุษย์ที่ฝังรากลึกภายในระบบสังคม วอยด์พังก์เป็นการต่อสู้และรับมือกับการลดทอนความเป็นมนุษย์ โดยเรียกคืนสำนึกความเป็นมนุษย์กลับมา อย่างไรก็ตาม วอยด์พังก์ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับผู้ที่มีอัตลักษณ์เอโรแมนติกโดยเฉพาะ
ประสมคำโดย Arotaro and Milkchocolatebowl (original, archived)
ธงไพรด์ (archived)
Zedromantic*
Describes a person who experiences romantic attraction or is not on the aromantic spectrum. An alternate term to alloromantic.